วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เลขท้ายของเลขยกกำลัง


1 = 1
2 = 2,4,8,6
3 = 3,9,7,1
4 = 4,6
5 = 5
6 = 6
7 = 7,9,3,1
8 = 8,4,2,6
9 = 9,1
10 = 0

การวัด และ การเทียบหน่วย ความยาวของพื้นที่


           10  มิลลิเมตร             =     1  เซนติเมตร
           100  เซนติเมตร          =     1  เมตร
           1,000  เมตร              =     1  กิโลเมตร
           12  นิ้ว                      =     1  ฟุต
           3  ฟุต                       =     1  หลา
           1,760  หลา               =     1  ไมล์
           12  นิ้ว                      =     1  คืบ
           2  คืบ                       =     1  ศอก
           1  ศอก                     =     1  วา
           20  วา                      =     1  เส้น
           400  เส้น                   =     1  โยชน์
           1  วา                        =     2  เมตร
           1  นิ้ว                        =     2.54  เซนติเมตร
           1  หลา                      =     0.9144  เมตร
           1  ไมล์                      =     1.6093  กิโลเมตร
           1  ไร่                         =     4  งาน
           1  ไร่                         =     400  ตารางวา
           1  งาน                       =     100  ตารางวา
           1  เอเคอร์                  =     4,840  ตารางหลา
           1  ตารางไมล์              =     640  เอเคอร์
           1  ตารางวา                 =     4  ตารางเมตร
           1  งาน                       =     400  ตารางเมตร
           1  ไร่                         =     1,600  ตารางเมตร
           1  ตารางกิโลเมตร        =     625  ไร่
           1  เอเคอร์                  =     2.529  ไร่

สูตรลัดการคูณเลข 11 กรณีเลข 3 หลัก

ตัวอย่าง
                11×768= 8448

(1) ขั้นตอนแรกยกเลข 8 จาก 768 สำหรับเป็นหลักหน่วยของคำตอบ
(2) ขั้นตอนที่สองเอาเลข 8 (หลักหน่วย) + 6 (หลักสิบ) = 14 บวกแล้วมากกว่า 9 ทดไว้ในขั้นถัดไป
(3) ขั้นตอนที่สามเอาเลข 6 (หลักสิบ) + 7 (หลักร้อย) + 1 (ทดจากขั้นที่ 2) = 14  แต่ผลบวกที่ได้ยังมากกว่า 9 ดังนั้นต้องนำไปทดไว้ในขั้นถัดไป
(4) ขั้นตอนสุดท้ายเหลือเลข 7 (หลักร้อย) + 1 (ทดจากขั้นที่ 3) = 8
ดังนั้นก็จะได้คำตอบ = 8448

สูตรลัดหาผลลัพธ์กำลัง 2 ของเลขสองหลักที่ลงท้ายด้วย 5

เทคนิคเลขยกกำลัง 2 ของตัวเลข 2 หลัก ที่ลงท้ายด้วย 5
ตัวอย่าง

                35 ยกกำลัง 2
วิธีทำ
(1) ขั้นตอนแรก ในที่นี้คือ นำเลขหลักแรก นั่นคือ เลข 3 คูณด้วยตัวเลขที่มีค่ามากกว่าตัวมันอยู่หนึ่ง ซึ่งก็คือ 4
     ดังนั้นจะได้ 3x4 = 12
(2) ขั้นตอนที่สอง 5 ยกกำลัง 2 = 25 หรือสามารถจำค่า 25 ไปต่อหลังคำตอบได้เลย
ผลลัพธ์สุดท้ายของ 35 ยกกำลังสอง คือ 1,225 นั่นเอง

สูตรลัดการหาผลคูณด้วย 25


การคูณด้วย 25

 ให้เติม 00  ที่คู่คูณของ 25 แล้วหารด้วย 4  ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแล้วค่ะ

ตัวอย่าง
1. 34        x  25  =   3,400       / 4   =  8502. 234      x  25  =   23,400     / 4   = 5,8503. 1,234   x  25  =   1,23400  / 4   =  30,850

 


 

สูตรสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม และเลขยกกำลัง

สูตรการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม

             ความยาวรอบรูปของรูปสามเหลี่ยม  =   ผลบวกของด้านทุกด้าน
             พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม                    =    ( 1/2 ) × ฐาน × สูง

สูตรต่างๆของรูปสี่เหลี่ยม

ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมใดใด          =  ผลบวกของด้านทุกด้าน
สี่เหลี่ยมผืนผ้า                                              =  กว้าง × ยาว
สี่เหลี่ยมจัตุรัส                                               =  ด้าน × ด้าน
สี่เหลี่ยมด้านขนาน                                       =  ฐาน × สูง
สี่เหลี่ยมคางหมู                                            =  ( 1/2 ) × ผลบวกด้านคู่ขนาน × สูง
สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน                                   =  เศษหนึ่งส่วนสอง × ผลคูณของเส้นทแยงมุม
สี่เหลี่ยมใดใด                                               =  ( 1/2 ) × เส้นทแยงมุม × ผลบวกของเส้นกิ่ง
สี่เหลี่ยมรูปว่าว                                             =   ( 1/2 ) × ผลคูณของเส้นทแยงมุม

สูตรของวงกลม

ความยาวรอบรูปของรูปวงกลม                    = 2πr
พื้นที่ของรูปวงกลม                                      = πr^2

เลขยกกำลังที่น่าจำ

                                                           21      = 2
                                                           22      = 4
                                                           23      = 8
                                                           24      = 16
                                                           25      = 32
                                                           26      = 64
                                                           27      = 128
                                                           28      = 256
                                                           29      = 512
                                                           210    = 1024
                                                           31     = 3
                                                           32     = 9
                                                           33     = 27
                                                           34     = 81
                                                           35     = 243
                                                           36     = 729
                                                           37     = 2187
                                                           38     = 6561
                                                           39     = 19683
                                                           310   = 58949

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การคูณและหารจำนวนจริง

สูตรการคูณและหารจำนวนจริง

  จำนวนจริงบวก(+)  x จำนวนจริงบวก(+) = จำนวนจริงบวก(+)
  จำนวนจริงบวก(+)  x จำนวนจริงลบ  (-) =  จำนวนจริงลบ (-)
  จำนวนจริงลบ  (-)  x จำนวนจริงบวก(+) =  จำนวนจริงลบ (-)
  จำนวนจริงลบ  (-)  x จำนวนจริงลบ  (-) =  จำนวนจริงบวก(+)

  จำนวนจริงบวก(+)  / จำนวนจริงบวก(+) = จำนวนจริงบวก(+)
  จำนวนจริงบวก(+)  / จำนวนจริงลบ  (-) =  จำนวนจริงลบ (-)
  จำนวนจริงลบ  (-)  / จำนวนจริงบวก(+) =  จำนวนจริงลบ (-)
  จำนวนจริงลบ  (-)  / จำนวนจริงลบ  (-) =  จำนวนจริงบวก(+)

ตัวอย่างการคูณและหารจำนวนจริง

      95 x (-10)      = (-950)
      11 x100        = 1100
      (-120) x (-10)  = 1200
      95 / ( -5)       = (-19)
      1200 / 60      = 20
      (-125) / (-25)   = 5

คูณพหุเก้า 99 999 9999 99999 ...

การคูณพหุเก้า 99 999 9999 99999  ..... 

วิธีแรก

  1.สมมุติจะหาผลลัพธ์ของ 56 x 99

  2.นำตัวที่จะคูณกับพหุเก้า ลบ 1 (56-1=55)

  3.และหาตัวที่บวกเป็นเก้าไปเป็นคู่ ๆ เช่น

    55 หาตัวที่บวกได้เก้าไปเป็นคู่ ๆ ก็คือ 5 บวกอะไรได้เก้า ก็คือ 4 แล้วนำไปต่อท้ายจำนวน

เดิมเป็น 554 แล้วหาคู่ต่อไป คือ 5 บวกอะไรได้เก้า ก็คือ 4 เช่นเดิม แล้วนำไปต่อท้ายเป็น

5544 ดังนั้น 56 x 99 = 5544

วิธีที่สอง (ใช้ได้กับทุกจำนวน ไม่เฉพาะ พหุคูณเก้า)

    คือเอาหลักหน่วยของทั้งสองจำนวนมาคูณกันก่อน ได้เท่าไหร่เขียนไว้ด้านท้าย (ถ้าได้หลักเดียว ให้ใส่ 0 ข้างหน้าอีกตัวให้ได้สองหลัก) จากนั้น เอา (เลขด้านหน้า)*(เลขด้านหน้า+1) ได้เท่าไหร่เขียนใส่ไว้ด้านหน้า

91*99 = 9009

92*98 = 9016

104*106 = 11024

209*201 = 42009

การทดลองสุ่ม

  การทดลองสุ่ม คือ การกระทำที่เราทราบว่าผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง  แต่ไม่สามารถบอกอย่างถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดผลอะไรจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้เหล่านั้น
 จากการทดลองสุ่มและเราสามารถเขียนทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองสุ่มได้  โดยอาจใช้แผนภาพช่วย
 แซมเปิลสเปซ คือ กลุ่มของผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม
 ความน่าจะเป็นทางปฏิบัติ
                      = จำนวนครั้งในการทดลองแล้วได้ผลในเหตุการณ์ / จำนวนครั้งที่ทดลอง

 - ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆ จะเป็นจำนวนใดจำนวนหนึ่งตั้งแต่ 0 ถึง 1
 ในเรื่องสถิตินี้ประกอบไปด้วย
 1.ตารางแจกแจงความถี่ จะประกอบด้วย
      1. อันตรภาคชั้น คือ ช่วงของตัวเลขที่แบ่งเป็นชั้นๆในตารางแจกแจงความถี่
      2. ข้อมูลดิบ คือ ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง
      3. ความถี่ คือ จำนวนของข้อมูลดิบในแต่ละช่วงของอันตรภาคชั้น
 ความรู้ในการสร้างตารางแจกแจงความถี่

 1. ในการสร้างตารางแจกแจงความถี่ จำนวนอันตรภาคชั้นที่นิยมใช้กันคือ 5 ถึง 15  อันตรภาคชั้นตามความมากน้อยของข้อมูล
 2. ในการสร้างตารางแจกแจงความถี่ ความกว้างของอันตรภาคชั้นไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุกชั้น
 3. ในกรณีที่มีคะแนนดิบเป็นจำนวนมากๆ  ถ้าค่าที่น้อยที่สุดและค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นเป็นค่าที่สังเกตได้ง่าย  การบันทึกกร่อยคะแนนจะสะดวกขึ้น
 2.ขอบล่าง = ค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้น + ค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าหนึ่งชั้น/2
 3.ขอบบน = ค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้น + ค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นที่สูงกว่าหนึ่งชั้น/2
 4. ความกว้างของอันตรภาคชั้น = ขอบล่าง ขอบบน
 5. จุดกึ่งกลางชั้น=  ( ขอบบน  + ขอบล่าง ) / 2

 หรือ จุดกึ่งกลางชั้น = ค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้น + ค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้น/2
 6. ค่ากลางของข้อมูล
 ค่ากลางของข้อมูล คือ ค่าที่สามารถนำมาแทนข้อมูลกลุ่มนั้นๆ เพื่อที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆได้
 ค่ากลางของข้อมูล สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
 1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล
 2. ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลนั้น
 3. มัธยมฐาน คือ ค่าที่อยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมดซึ่งเมื่อเรียงข้อมูลชุดนั้นจากน้อยไปมาก  หรือจากมาไปน้อยแล้ว ข้อมูลที่มากกว่าค่านั้น

เอกนาม พหุนาม

เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป  โดยที่เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก

พหุนาม คือ นิพจน์สามารถเขียนในรูปเอกนามหรือสามารถเขียนในรูปการบวกของเอกนามตั้ง
แต่สองเอกนามขึ้นไป
ตัวประกอบของพหุนาม คือ การเขียนพหุนามนั้นในรูปของการคูณของพหุนามที่มีดีกรีต่ำกว่า
 
พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนได้ในรูป ax2 + bx +cเมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัวที่a 0 และ x  เป็นตัวแปร
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
 x2+ bx + c
เมื่อ b และ c เป็นจำนวนเต็ม ทำได้เมื่อสามารถหาจำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณกันได้ c และบวกกันได้  ให้ d และ e แทนจำนวนเต็มสองจำนวนดังกล่าว ดังนั้น
 de = c
 d + e = b
 
ฉะนั้น x2 + bx + c = x2 + (d + e)x + de
                              = ( x2 + dx ) + ( ex + de )
                              = ( x + d )x + ( x + d )e
                              = ( x + d ) ( x + e )
 
ดังนั้น x2 + bx +c แยกตัวประกอบได้เป็น (
x + d ) ( x + e )
 

ตัวอย่าง
 (6x-5) (x+1) = (6x-5) (x) + (6x-5) (1)
 = 6x2 – 5x + 6x – 5
 = 6x2 + (5x+6x) – 5
 = 6x2 -5x +6x -5
 = 6x2 + x – 5

 จากตัวอย่างข้างต้น อาจแสดงวิธีหาพหุนามที่เป็นผลลัพธ์ได้ดังนี้
 1. (6x – 5)(x + 1) = 6x2  - พจน์หน้าของพหุนามวงเล็บแรก x พจน์หน้าของพหุนามวงเล็บหลัง = พจน์หน้าของพหุนามของผลลัพธ์
 2. (6x - 5)(x + 1)  = -5
 -พจน์หลังของพหุนามวงเล็บแรก x พจน์หลังของพหุนามวงเล็บหลัง = พจน์หลังของพหุนามของผลลัพธ์
 3. (6x – 5)(x + 1) = 6x + (-5x )
 - พจน์หน้าของพหุนามวงเล็บแรก x พจน์หลังของพหุนามวงเล็บหลัง + พจน์หน้าของพหุนามวงเล็บแรก x  พจน์หน้าของพหุนามวงเล็บหลัง

พจน์กลางของพหุนามที่เป็นผลลัพธ์
 
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์
 
กำลังสองสมบูรณ์ คือ พหุนามดีกรีสองที่แยกตัวประกอบแล้วได้ตัวประกอบเป็นพหุนามดีกรีหนึ่งซ้ำกัน
 
ดังนั้น พหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์แยกตัวประกอบได้ดังนี้
 x2 + 2ax + a2 = ( x + a )2
 x2 – 2ax + a2 = ( x – a )2
 

รูปทั่วไปของพหุนามที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์คือ a2 +2ab + b2 และ a2 -2ab +b2 เมื่อ a และ b  เป็นพหุนาม  แยกตัวประกอบได้ดังนี้
 

สูตร a2 +2ab + b2 = ( a + b )2
 a2 -2ab +b2 = (a-b)2
 
     

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสอง
 
พหุนามดีกรีสองที่สามารถเขียนได้ในรูป x2 – a2 เมื่อ a เป็นจำนวนจริงบวกเรียกว่า ผลต่างของกำลังสอง
 
จาก x2 – a2 สามารถแยกตัวประกอบได้ดังนี้ x2 – a2 = ( x + a ) ( x – a )
 

สูตร x2 – a2 = ( x + a ) (x-a)     
 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองโดยวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์  
 
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง x2 + bx + c โดยวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์ สรุปได้คือ
 1.
จัดพหุนามที่กำหนดให้อยู่ในรูป x2 + 2px +c หรือ x2 -2px +c เมื่อ p เป็นจำนวนจริงบวก
 2.
ทำบางส่วนของพหุนามที่จัดไว้ในข้อ 1 ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์ โดยนำกำลังสองของ p  บวกเข้าและลบออกดังนี้
 x2 + 2px +c = ( x2 + 2px + p2 ) – p2 + c
 = ( x + p)2 – ( p2 - c )
 x2 – 2px + c = ( x2 - 2px + p2 ) – p2 + c
 = ( x - p)2 – ( p2 - c )
 3.
ถ้า p2 – c = d2 เมื่อ d เป็นจำนวนจริงบวกจากข้อ 2 จะได้
 x2 + 2px + c = ( x + p)2 – d2
 x2 - 2px + c = ( x - p)2 – d2
 4.
แยกตัวประกอบของ ( x + p )2 – d2 หรือ ( x – p )2 – d2 โดยใช้สูตรการแยกตัวประกอบของผลต่างของกำลังสอง
 

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสองที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็ม
 
พหุนามที่อยู่ในรูป A3 + B3 และ A3 - B3 ว่าผลบวกของกำลังสาม ตามลำดับ
 
สูตร A3 + B3 = ( A + B )( A2 –AB + B2)
 A3 - B3 = ( A - B )( A2 +AB + B2)

เราสามารถหาคำตอบของสมการ ax2 + bx + c = 0
 
ได้จากสูตร
x = เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว a 0 และ b2 – 4ac 0
 
สมการกำลังสอง ax2 + bx + c = 0 เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว a 0 และ b2 – 4ac < 0  ไม่มีจำนวนจริงเป็นคำตอบ
 
ขั้นตอนในการหาคำตอบปัญหาโดยใช้สมการ
 1.
อ่านปัญหา
 2.
สมมุติตัวแปรหนึ่งตัว แทนจำนวนที่ต้องการทราบค่า
 3.
หาสมการที่แสดงความเกี่ยวข้องของตัวแปรกับจำนวนอื่นๆ ที่ทราบค่า
 4.
แก้สมการ
 5.
ใช้คำตอบของสมการหาคำตอบของปัญหา
 6.
ตรวจคำตอบ